Risk Reward Ratio สูตรลับที่ทำให้นักเทรดทำกำไรได้อย่างยั่งยืน

Risk Reward Ratio สูตรลับที่ทำให้นักเทรดทำกำไรได้อย่างยั่งยืน
สารบัญ

การเทรดในตลาดการเงิน ไม่ว่าจะเป็นหุ้น, ฟอเร็กซ์ หรือคริปโต สิ่งที่นักเทรดทุกคนต้องเผชิญคือ “ความเสี่ยง” ซึ่งนับเป็นเรื่องธรรมดา แต่จะดีกว่าไหม ถ้าเรามีวิธีที่จะคำนวณและจัดการกับความเสี่ยงนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ นี่แหละคือที่มาของ Risk Reward Ratio (R:R) หรือสูตรลับที่นักเทรดมืออาชีพใช้กันเพื่อวัดโอกาสทำกำไรและลดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด แม้ว่าคุณจะเป็นนักเทรดมือใหม่ แต่ถ้ารู้จักใช้สิ่งนี้อย่างถูกต้อง คุณก็มีสิทธิ์ทำกำไรได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

Risk Reward Ratio คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญ?

สำหรับนักเทรดมือใหม่ที่กำลังมองหาวิธีทำกำไรในตลาดการเงิน สิ่งหนึ่งที่ต้องเข้าใจให้ดีก็คือ Risk Reward Ratio หรือเรียกสั้น ๆ ว่า R, RRR หรือ R:R เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เรารู้ว่า การเทรดแต่ละครั้งมีความคุ้มที่จะเสี่ยงหรือเปล่า เพราะการเทรดไม่ได้มีแค่การทำกำไร แต่นักลงทุนต้องแบกรับความเสี่ยงด้วย จึงเป็นเหตุผลที่เราใช้สิ่งนี้เพื่อวัดอัตราความคุ้มค่าที่เราจะแพ้หรือชนะได้ของกลยุทธ์นั้นเอง

ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ การเปรียบเทียบระหว่าง “ความเสี่ยง” ที่เรายอมเสียไปกับ “กำไร” ที่เราหวังว่าจะได้ โดยตัวเลขนี้จะบอกเราว่า ถ้าเราเสี่ยงเงินเท่านี้ เราจะได้กำไรกลับมาเท่าไหร่ ยิ่งเรามีกลยุทธ์ที่สามารถตั้งอัตราส่วนนี้ได้ดี ก็จะช่วยให้เรามีโอกาสทำกำไรสูงขึ้น และลดความเสี่ยงในการเสียเงินได้เยอะทีเดียว

ทำไมเทรดเดอร์มือใหม่ต้องสนใจ R:R ?

เราอยากให้คุณลองนึกถึงการเทรดว่าเปรียบเสมือนกับการขึ้นบันไดไปทีล่ะขั้น โดยการที่เราจะไปถึงชั้นบนสุดได้ เราก็ต้องก้าวขึ้นไปมากกว่าที่จะถอยลงมาใช่ไหม? ซึ่งการเทรดเองก็เช่นกัน ถ้าเราอยากจะทำกำไรได้ในระยะยาว เราต้อง “ก้าว” ให้มากกว่าการ “ถอย” นั่นหมายถึง ต้องมีการจัดการ Risk Reward Ratio ที่เหมาะสม เพื่อให้เรามีโอกาสชนะมากกว่าการแพ้นั่นเอง

ยกตัวอย่างง่าย ๆ ว่าถ้าเราตั้งความเสี่ยงที่ 1 บาท แล้วสามารถทำกำไรได้ 3 บาท จะเท่ากับ R:R = 1:3 นั่นหมายความว่า แม้เราจะชนะเพียง 1 ใน 3 ครั้ง ก็ยังไม่ขาดทุน เพราะกำไรจากการชนะครั้งเดียวก็เพียงพอที่จะชดเชยการขาดทุนจากอีก 2 ครั้งที่แพ้ได้ เปรียบเสมือนการขึ้นบันได 3 ขั้น ที่เราสามารถถอยหลังได้ถึง 2 ครั้งโดยไม่ตกบันได และยังคงอยู่ที่ระดับเดิม แต่ถ้าชนะเพิ่มอีกครั้ง ก็เปรียบเสมือนการมีก้าวสำรองให้ถอยได้อีก 5 ครั้งเลยทีเดียว

ฉะนั้นการตั้ง R:R ให้ดีก็เสมือนการวางแผนก้าวขึ้นบันไดที่มั่นคง ช่วยให้เรารู้อัตราการชนะของกลยุทธ์ที่ใช้อยู่ และทำให้เราไปถึง “เส้นชัย” หรือเป้าหมายในการทำกำไรได้ในที่สุด โดยการตั้ง R:R ที่ดี ก็คือการตั้งให้อัตราการชนะหรือการทำกำไรอยู่สูงกว่าที่จะขาดทุนได้นั่นเอง ซึ่งหมายความว่าเราต้องชนะให้ได้มากกว่าแพ้ ถึงจะสามารถอยู่ในตลาดได้อย่างยาวนาน

สูตรคำนวณ Risk Reward Ratio ง่าย ๆ ที่ใครก็ใช้ได้

สูตรคำนวณ Risk Reward Ratio ง่าย ๆ ที่ใครก็ใช้ได้

Step-by-Step การคำนวณ

1.กำหนดราคาเข้า (Entry Point)
ขั้นแรกในการคำนวณ R:R คือการเลือกจุดเข้าเทรด (Entry Point) ซึ่งจะเป็นราคาที่คุณตัดสินใจเข้าซื้อหรือขาย เช่น สมมติว่าในการเทรด XAUUSD (ทองคำ) คุณตัดสินใจเข้าซื้อที่ราคา 1,900 USD ต่อออนซ์

2.กำหนดจุดหยุดขาดทุน (Stop Loss)
หลังจากที่ตั้งราคาเข้าแล้ว คุณต้องกำหนด จุดหยุดขาดทุน (Stop Loss) ซึ่งเป็นระดับราคาที่หากราคาทองคำตกลงถึงจุดนี้ คุณจะยอมขาดทุนและออกจากการเทรดเพื่อป้องกันการขาดทุนเพิ่มเติม เช่น คุณตั้งจุดหยุดขาดทุนที่ 1,880 USD นั่นหมายความว่าคุณยอมขาดทุน 20 USD ต่อออนซ์

3.ตั้งเป้าหมายทำกำไร (Take Profit)
จากนั้น คุณต้องกำหนด เป้าหมายทำกำไร (Take Profit) ซึ่งเป็นระดับราคาที่หากราคาขึ้นถึงจุดนี้ คุณจะปิดการเทรดเพื่อรับกำไร เช่น คุณตั้งเป้าหมายทำกำไรไว้ที่ 1,940 USD ต่อออนซ์ หมายความว่าคุณหวังจะได้กำไร 40 USD ต่อออนซ์

4.คำนวณ Risk Reward Ratio (R:R)
เมื่อคุณมี SL และ TP แล้ว การคำนวณ Risk Reward Ratio ก็ทำได้ง่าย ๆ โดยการใช้สูตรดังนี้

Risk Reward Ratio

ในกรณีนี้

  • ความเสี่ยง: จากราคา 1,900 USD ถึง 1,880 USD (ขาดทุน 20 USD ต่อออนซ์)
  • ผลตอบแทน: จากราคา 1,900 USD ถึง 1,940 USD (กำไร 40 USD ต่อออนซ์)

ดังนั้นจะได้เป็น

Risk Reward Ratio

หมายความว่าคุณเสี่ยง 1 ส่วน เพื่อหวังผลตอบแทน 2 ส่วน หากเทรดได้ตามนี้ คุณจะมีกำไรที่สามารถชดเชยการขาดทุนได้ และทำให้การเทรดมีความยั่งยืนมากขึ้น

การปรับใช้ Risk Reward Ratio ตามสภาพตลาด

การตั้งค่า Risk Reward Ratio (R:R) เป็นกลยุทธ์ที่ต้องยืดหยุ่นตามสภาวะตลาด เนื่องจากการเคลื่อนไหวของราคามีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา การปรับ R:R ให้เหมาะสมกับสถานการณ์จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสทำกำไรได้มากขึ้น นี่คือตัวอย่างการปรับใช้ตามสภาวะตลาดต่าง ๆ เพื่อให้การเทรดของคุณมีประสิทธิภาพ

1.ตลาดที่มีความผันผวนต่ำ (Low Volatility)

ตลาดที่มีความผันผวนต่ำ หมายถึงช่วงเวลาที่ราคาของสินทรัพย์เคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเคลื่อนไหวของราคาในสภาวะนี้มักจะไม่รุนแรง ทำให้โอกาสในการขาดทุนจากการเคลื่อนไหวผิดทางน้อยลง

ในสภาวะนี้ การตั้ง Risk Reward Ratio ที่ต่ำกว่า เช่น 1:2 จะถือว่าเหมาะสม เนื่องจากความเสี่ยงที่เรายอมรับได้จะน้อยลง เพราะราคามีการเคลื่อนไหวช้า แม้ว่าผลตอบแทนที่คาดหวังจะไม่สูงมาก แต่โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงก็ไม่สูงเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น หากคุณลงทุนใน XAUUSD ช่วงที่ตลาดค่อนข้างนิ่งและราคาทองคำไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมาก คุณอาจกำหนดว่า คุณยอมรับการขาดทุนได้ 10 USD ต่อออนซ์ แต่คาดหวังผลกำไร 20 USD ต่อออนซ์ นี่คือการตั้งค่า R:R = 1:2 ซึ่งถือว่าเป็นการตั้งค่าที่เหมาะสมสำหรับตลาดที่เคลื่อนไหวช้า คุณยังสามารถทำกำไรได้โดยไม่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงมากเกินไป

เนื่องจากตลาดมีความเคลื่อนไหวน้อย โอกาสที่ราคาจะเคลื่อนไหวผิดทางจนถึงจุดหยุดขาดทุน (Stop Loss) ก็มีน้อย การตั้งค่า R:R ที่ 1:2 หรือแม้แต่ 1:1.5 จะทำให้คุณสามารถปิดการเทรดได้ง่ายขึ้น เพราะการบรรลุเป้าหมายทำกำไร (Take Profit) ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงของราคาที่รุนแรง

2.ตลาดที่มีความผันผวนสูง (High Volatility)

ตลาดที่มีความผันผวนสูง คือช่วงเวลาที่ราคาสินทรัพย์มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นจากข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ความผันผวนที่สูงทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้นสำหรับนักเทรด เพราะราคาอาจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและไปในทิศทางที่คุณไม่คาดคิด

ในสถานการณ์นี้ การตั้ง R ที่สูงขึ้น เช่น 1:3 หรือมากกว่า จะช่วยให้คุณรับมือกับความเสี่ยงได้ดีขึ้น เพราะเมื่อความเสี่ยงสูงขึ้น คุณต้องคาดหวังผลตอบแทนที่มากขึ้น เพื่อให้คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ทำให้การตั้งเป้าหมายผลกำไรที่สูงขึ้นจะช่วยชดเชยการขาดทุนที่อาจเกิดจากการเคลื่อนไหวของราคาที่ไม่แน่นอน

ตัวอย่างเช่น ในการเทรด XAUUSD ช่วงที่มีข่าวเศรษฐกิจสำคัญ ราคาทองคำอาจขึ้นลงรุนแรง ในกรณีนี้ คุณอาจตั้งความเสี่ยงที่ 30 USD ต่อออนซ์ แต่คาดหวังผลกำไร 90 USD ต่อออนซ์ เพื่อให้การเทรดคุ้มค่ากับความเสี่ยงที่คุณต้องรับ การตั้ง R = 1:3 ในสภาวะเช่นนี้จะทำให้คุณมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงพอในการชดเชยความเสี่ยง

โดยตลาดที่มีความผันผวนสูงอาจทำให้ราคาผันผวนอย่างไม่คาดคิด และมีโอกาสที่ราคาจะถึงจุดหยุดขาดทุนได้เร็วขึ้น ดังนั้น การตั้ง R ให้สูงขึ้น เช่น 1:3 หรือ 1:4 จะช่วยให้ผลตอบแทนที่คุณได้รับจากการเทรดที่ประสบความสำเร็จสามารถชดเชยการขาดทุนได้มากขึ้น และช่วยเพิ่มโอกาสทำกำไรในระยะยาว

การคำนวณความเสี่ยงต่อการขาดทุนโดยรวม (Risk Per Trade)

การคำนวณความเสี่ยงต่อการขาดทุนโดยรวม (Risk Per Trade)

อีกหนึ่งวิธีที่สำคัญในการจัดการความเสี่ยงคือการคำนวณว่าเราควรเสี่ยงเงินเท่าไหร่ต่อการเทรดแต่ละครั้ง เทรดเดอร์มืออาชีพแนะนำว่าความเสี่ยงต่อการเทรดไม่ควรเกิน 1-2% ของเงินทุนทั้งหมด เพราะหากเสี่ยงมากเกินไป คุณอาจเสียเงินทุนอย่างรวดเร็วและไม่สามารถกลับเข้าสู่ตลาดได้

1.กำหนดเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงที่ยอมรับได้

การกำหนด เปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เป็นก้าวแรกที่สำคัญมากในการจัดการเงินทุนและความเสี่ยง เทรดเดอร์ส่วนใหญ่แนะนำว่า คุณควรเสี่ยงเงินในแต่ละการเทรดไม่เกิน 1-2% ของเงินทุนทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดทุนเกินความสามารถในการรับมือ

สมมติว่าคุณเลือกที่จะยอมเสี่ยง 2% ของเงินทุนต่อการเทรดหนึ่งครั้ง นั่นคือ หากการเทรดนั้นขาดทุน คุณจะเสียเงินไม่เกิน 2% ของพอร์ตทั้งหมด ซึ่งจะช่วยให้คุณยังมีเงินทุนเหลือสำหรับการเทรดต่อไปโดยไม่ทำให้พอร์ตของคุณได้รับผลกระทบรุนแรง

2.คำนวณเงินทุนที่คุณมี

ถัดมา คุณต้องรู้จักเงินทุนทั้งหมดของคุณ สมมติว่าคุณมีเงินทุนในพอร์ตทั้งหมด 100,000 บาท นี่คือจำนวนเงินที่คุณจะนำมาคำนวณเพื่อกำหนดความเสี่ยงที่ยอมรับได้ในการเทรดแต่ละครั้ง

3.คำนวณความเสี่ยงที่ยอมรับได้ต่อการเทรด

เมื่อคุณกำหนดเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงที่ยอมรับได้แล้ว และรู้เงินทุนทั้งหมดของคุณ ขั้นตอนต่อไปคือการคำนวณจำนวนเงินที่คุณเสี่ยงได้ต่อการเทรดหนึ่งครั้งโดยจะมีสูตรตามนี้

Risk Reward Ratio

โดยหากการเทรดนี้คุณยอมเสี่ยง 2% ของเงินทุนทั้งหมด 100,000 บาท จะสามารถคำนวณได้ดังนี้

Risk Reward Ratio

หมายความว่าในการเทรดหนึ่งครั้ง คุณจะเสี่ยงเงินสูงสุด 2,000 บาท หากการเทรดนั้นขาดทุน คุณจะสูญเสียไม่เกินจำนวนนี้ ซึ่งจะเป็นจำนวนที่คุณยอมรับได้นั่นเอง

การคำนวณ Risk Per Trade ถือเป็นวิธีสำคัญในการควบคุมความเสี่ยงของการเทรดอย่างเป็นระบบ เป็นการตั้งเป้าหมายชัดเจนว่าคุณจะเสี่ยงเงินเท่าไหร่ในการเทรดแต่ละครั้ง โดยที่ไม่กระทบกับเงินทุนทั้งหมด การคำนวณนี้ไม่เพียงช่วยป้องกันการขาดทุนรุนแรง แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณสามารถพัฒนากลยุทธ์การเทรดให้มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับสภาวะตลาดได้มากขึ้น

สรุป

Risk Reward Ratio เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตั้ง R:R ได้อย่างเหมาะสม ทำให้คุณรู้ว่าจะเสี่ยงเท่าไหร่และคาดหวังผลตอบแทนได้เท่าไหร่ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมความเสี่ยงและสร้างกำไรในระยะยาว ช่วยให้คุณสามารถกำหนดขอบเขตของการขาดทุนได้ ทำให้คุณสามารถเทรดได้อย่างมีวินัยและมั่นใจมากขึ้น

ลงทะเบียนสัมมนา