จับจังหวะแม่นด้วย Stochastic Oscillator อินดิเคเตอร์ที่ช่วยบอกจุดพีคของราคา

Stochastic
สารบัญ

ในโลกของการเทรด ความแม่นยำคือกุญแจสำคัญในการทำกำไร และการรู้ว่าราคาจะถึงจุดสูงสุดหรือต่ำสุดเมื่อใดนั้นเป็นข้อมูลที่มีค่ามาก อินดิเคเตอร์หนึ่งที่นักเทรดมืออาชีพใช้เพื่อช่วยจับจังหวะนี้ก็คือ Stochastic Oscillator เครื่องมือนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อวัดโมเมนตัมของตลาด และช่วยให้มองเห็นว่าราคากำลังเข้าสู่ช่วงที่ “แพงเกินไป” (Overbought) หรือ “ถูกเกินไป” (Oversold)

โดยบทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ Indicator ตัวนี้อย่างละเอียด เริ่มจากพื้นฐานของการทำงาน จนถึงวิธีการใช้ในสนามจริง รับรองเลยว่าคุณจะได้เรียนรู้วิธีการอ่านสัญญาณและการตั้งค่าต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้การเทรดของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ทำความรู้จัก Stochastic Oscillator อินดิเคเตอร์สุดฮิตของสายเทรด

ในการเทรดตลาดหุ้น ตลาดเงิน หรือแม้กระทั่งตลาดคริปโต หนึ่งในเครื่องมือที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักเทรดก็คือ Stochastic Oscillator เพราะมันช่วยบอกคุณว่าราคากำลังจะกลับตัวหรือไม่ จุดที่ราคาขึ้นไปสูงเกิน หรือลงมาต่ำเกิน  สามารถใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว

ถือเป็นอินดิเคเตอร์ประเภท Momentum หรือเครื่องมือที่วัด “แรง” ของตลาด ที่ไม่ได้บอกแค่เพียงว่าราคาขึ้นหรือลง แต่ยังช่วยประเมินว่าราคาจะยังคงทิศทางเดิมต่อไปได้อีกนานแค่ไหน หรือกำลังใกล้ถึงจุดสิ้นสุดและอาจมีการกลับตัวเกิดขึ้น จนเรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือที่เทรดเดอร์ทุกคนควรมีในคลังเลยก็ว่าได้

ต้นกำเนิด Stochastic Oscillator ใครคือผู้คิดค้น?

Stochastic Oscillator ถูกคิดค้นโดย George C. Lane นักวิเคราะห์การเงินชื่อดังในช่วงปลายปี 1950 ผู้มองเห็นความสำคัญของ “Momentum” ในการเทรด โดยเขาได้ออกแบบเครื่องมือนี้เพื่อวัดความเร็วหรือแรงของการเปลี่ยนแปลงราคา ซึ่งต่างจาก Indicator ทั่วไปที่เน้นบอกเพียงทิศทางของราคาโดย Lane เชื่อว่าโมเมนตัมจะเป็นตัวชี้วัดที่ทรงพลังในการบอกสภาวะของตลาด ไม่ว่าจะเป็นช่วงขาขึ้นหรือขาลง และการสูญเสียโมเมนตัมนี้มักจะนำไปสู่การกลับตัวของราคานั่นเอง

ปัจจุบัน Stochastic ก็ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น และมีอยู่ในแพลตฟอร์มการเทรดยอดนิยม เช่น MetaTrader และ TradingView ทำให้นักเทรดสามารถนำไปใช้ในตลาดต่างๆ ได้อย่างสะดวก ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายและเหมาะสำหรับนักเทรดทุกระดับ

รูปแบบการทำงานของ Stochastic Oscillator

Stochastic Oscillator เป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์สำคัญที่นักเทรดทั่วโลกนิยมใช้ เพราะมันถูกออกแบบมาเพื่อบอกสัญญาณการกลับตัวของราคาในตลาด โดยการคำนวณจากราคาปิดของสินทรัพย์ เปรียบเทียบกับช่วงราคาสูงสุดและต่ำสุดในระยะเวลาที่กำหนด ทำให้นักเทรดสามารถมองเห็นได้ว่า ตอนนี้ราคากำลังเข้าสู่ภาวะ “แพงเกินไป” (Overbought) หรือ “ถูกเกินไป” (Oversold)

ในโลกของการเทรด ตลาดไม่เคยเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวตลอดเวลา เมื่อราคาขึ้นไปจนถึงจุดหนึ่ง มันจะมีแนวโน้มกลับตัวลง และเช่นกัน เมื่อราคาลดลงไปถึงจุดหนึ่ง มันจะมีโอกาสกลับตัวขึ้น นี่คือที่มาของความสำคัญในการใช้ Stochastic เป็น “สัญญาณเตือน” ให้คุณรู้ว่าตอนนี้ตลาดกำลังอยู่ในจุดที่พร้อมจะกลับทิศทางหรือไม่

โดยทั่วไป ค่า Overbought จะอยู่เหนือระดับ 80 หมายความว่าราคาสินทรัพย์นั้นสูงเกินไปและอาจเตรียมกลับตัวลง ในขณะที่ค่า Oversold จะอยู่ต่ำกว่าระดับ 20 ซึ่งบ่งบอกว่าราคาต่ำเกินไปและมีแนวโน้มที่จะกลับขึ้นมา เมื่อ Stochastic อยู่ในช่วงเหล่านี้ นักเทรดสามารถใช้เป็นจังหวะในการตัดสินใจเปิดหรือปิดออเดอร์ได้ทันที

ส่วนประกอบของ Stochastic

ส่วนประกอบของ Stochastic Oscillator มีอะไรบ้าง?

การเข้าใจหลักการทำงานของ Stochastic Oscillator จำเป็นต้องรู้จักส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยบอกสัญญาณการเคลื่อนไหวของตลาดให้แม่นยำ โดยจะมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้ที่ผู้ใช้งานควรเข้าใจ

%K Line

เป็นเส้นหลักใน Stochastic Oscillator ที่บ่งบอกถึงตำแหน่งของราคาปิดปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงราคาสูงสุดและต่ำสุดในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น 14 วัน ค่าของ %K จะอยู่ในช่วง 0-100 โดยตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่าราคาปิดในปัจจุบันอยู่ในระดับใดเมื่อเทียบกับกรอบราคาของช่วงเวลานั้น ๆ โดยการคำนวณ %K Line มีดังนี้

%K Line

ปัจจุบัน Stochastic ก็ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น และมีอยู่ในแพลตฟอร์มการเทรดยอดนิยม เช่น MetaTrader และ TradingView ทำให้นักเทรดสามารถนำไปใช้ในตลาดต่างๆ ได้อย่างสะดวก ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายและเหมาะสำหรับนักเทรดทุกระดับ

%D Line

%D Line คือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) ของ %K Line โดยปกติแล้วจะใช้ค่าเฉลี่ย 3 วัน เส้นนี้ถูกใช้เพื่อช่วยกรองความผันผวนของ %K Line ทำให้สัญญาณที่เกิดขึ้นมีความชัดเจนมากขึ้นและหลีกเลี่ยงสัญญาณผิดพลาด (False Signals) โดยตัวอย่างการตีความสัญญาณจาก %D Line จะสามารถบอกได้ดังนี้

  • หาก %K ตัดผ่าน %D ขึ้นมาจากด้านล่าง นี่อาจเป็นสัญญาณซื้อ (Buy Signal) เนื่องจากบ่งบอกว่าราคากำลังกลับตัวขึ้น
  • หาก %K ตัดผ่าน %D ลงจากด้านบน นี่อาจเป็นสัญญาณขาย (Sell Signal) เพราะบ่งบอกว่าราคากำลังอ่อนตัวลง

ทำให้การใช้ %K และ %D ร่วมกันจะช่วยให้สามารถจับสัญญาณการกลับตัวของราคาได้ชัดเจนและแม่นยำมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

Overbought / Oversold Levels

ในการเทรด Stochastic Oscillator จะช่วยบอกว่าราคาเข้าสู่ภาวะ Overbought (แพงเกินไป) หรือ Oversold (ถูกเกินไป) ซึ่งเป็นสัญญาณว่าราคาอาจเกิดการกลับตัวขึ้นโดย

Overbought (ระดับแพงเกินไป)

หากค่า Stochastic อยู่เหนือระดับ 80 หมายความว่าตลาดหรือสินทรัพย์นั้นๆ อาจเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า Overbought ซึ่งแปลว่าราคาขึ้นมาสูงเกินไปเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา หรือมีการซื้อในปริมาณมากเกินความเป็นจริงในช่วงเวลาสั้นๆ การที่ตลาดเข้าสู่โซน Overbought ไม่ได้หมายความว่าราคาจะต้องปรับตัวลงทันที แต่มันเป็นสัญญาณเตือนว่าแนวโน้มขาขึ้นอาจเริ่มอ่อนแรงลง และมีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวลงในไม่ช้า

ถ้าในโซน Overbought นี้ เส้น %K ตัดเส้น %D ลงมา จะเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนขึ้นว่านักลงทุนหรือเทรดเดอร์เริ่มขายออก ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดอาจกำลังกลับตัวจากแนวโน้มขาขึ้นมาเป็นขาลง เมื่อเห็นสัญญาณนี้ นักเทรดควรพิจารณา ขายเพื่อทำกำไร หรือ ปิดสถานะการซื้อที่มีอยู่ เพื่อป้องกันการขาดทุนจากการปรับตัวลงของราคา

Oversold (ระดับถูกเกินไป)

เมื่อค่า Stochastic อยู่ต่ำกว่าระดับ 20 หมายความว่าตลาดหรือสินทรัพย์นั้นอาจเข้าสู่ภาวะ Oversold ซึ่งบ่งบอกว่าราคาลงมาต่ำมากเกินไปแล้ว และมีการขายออกในปริมาณมากเกินกว่าที่ควรจะเป็นในช่วงเวลาสั้นๆ ภาวะนี้ไม่ได้หมายความว่าราคาจะกลับตัวขึ้นทันที แต่เป็นสัญญาณเตือนว่าแนวโน้มขาลงอาจใกล้สิ้นสุด และตลาดมีโอกาสที่จะฟื้นตัวขึ้น

หากในช่วงที่ตลาดอยู่ในโซน Oversold เส้น %K ตัดเส้น %D ขึ้นมา นั่นเป็นสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นว่าราคากำลังเริ่มฟื้นตัว เป็นสัญญาณบ่งบอกว่านักลงทุนเริ่มกลับเข้ามาซื้อสินทรัพย์ ซึ่งเพิ่มโอกาสที่ตลาดจะปรับตัวขึ้นจากจุดต่ำสุด เมื่อนักเทรดเห็นสัญญาณนี้ อาจพิจารณา เข้าเทรดซื้อ เพื่อจับจังหวะการฟื้นตัวของตลาด และทำกำไรจากการขึ้นของราคา

ซึ่งการใช้งาน Overbought และ Oversold ช่วยให้เรามองเห็นแนวโน้มการกลับตัวของตลาดได้ แต่ทั้งนี้ก็ควรใช้ควบคู่กับเครื่องมืออื่น ๆ เพื่อเพิ่มความแม่นยำ เช่น การยืนยันจากจุดตัดกันของเส้น %K และ %D หรือใช้ Indicator อื่นควบคู่

ข้อควรระวังคือ ไม่ใช่ทุกครั้งที่สัญญาณ Overbought หรือ Oversold จะเป็นการกลับตัวทันที ดังนั้น การวิเคราะห์แบบผสมผสานโดยอ้างอิงข้อมูลที่ชี้ได้ชัดจากแหล่งอื่นจะช่วยให้การเทรดมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การตั้งค่า Stochastic

เคล็ดลับการตั้งค่า Stochastic Oscillator เพื่อเทรดอย่างมั่นใจ

การใช้ Stochastic Oscillator ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าที่เหมาะสม การตั้งค่าให้ถูกต้องจะช่วยให้คุณสามารถจับจังหวะการเข้า-ออกตลาดได้อย่างแม่นยำและมีความมั่นใจในการตัดสินใจมากขึ้น แต่คำถามคือ เราควรตั้งค่ายังไงให้เหมาะสมที่สุด ซึ่งกาารตั้งค่าจะประกอบด้วยการเลือก Time Period รวมถึงการตั้งค่าเส้น %K และ %D เพื่อให้เหมาะกับกลยุทธ์

Time Period ควรเลือกค่าเท่าไรดี?

Time Period หรือช่วงเวลาที่ใช้ในการคำนวณค่า Stochastic มักถูกตั้งไว้ที่ค่าเริ่มต้นคือ 14 วัน ซึ่งเป็นค่าที่นิยมใช้กันในหมู่นักเทรด ค่า 14 นี้หมายถึงการใช้ข้อมูลราคาของ 14 แท่งเทียน (หรือ 14 วันในกรณีเทรดกราฟรายวัน) เพื่อคำนวณโมเมนตัมของราคา

อย่างไรก็ตาม การตั้ง Time Period นั้นสามารถปรับได้ตามสไตล์การเทรดของคุณ:

  • Time Period สั้น (เช่น 5-9 วัน): จะทำให้ Stochastic ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของราคาที่รวดเร็วมากขึ้น เหมาะสำหรับนักเทรดที่ต้องการจับจังหวะการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นและชอบเทรดในตลาดที่มีความผันผวนสูง
  • Time Period ยาว (เช่น 21-28 วัน): ช่วยให้การเคลื่อนไหวของ Stochastic ช้าลงและมั่นคงมากขึ้น เหมาะสำหรับนักเทรดที่เน้นการเทรดในระยะยาว ต้องการความแม่นยำและลดความผันผวนที่เกิดจากข้อมูลระยะสั้น

ตั้งค่า %K และ %D อย่างไรให้ได้ผลดีกับกลยุทธ์

%K Line คือเส้นที่บอกถึงโมเมนตัมของราคาปัจจุบันเมื่อเทียบกับช่วงสูงสุดและต่ำสุดของตลาด โดยเส้น %K จะมีการเคลื่อนไหวที่ไว ส่วน %D Line เป็นเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ %K ทำให้เส้น %D นิ่งกว่าและใช้เป็นเครื่องมือช่วยยืนยันสัญญาณที่เกิดจาก %K โดยเราจะมีวิธีการปรับตามกลยุทธ์ได้ดังนี้

  • การปรับ %K ที่ไวขึ้น ด้วยการลดจำนวนวัน (เช่น เปลี่ยนจาก 14 วันเป็น 5 วัน) จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาได้เร็วขึ้น เหมาะสำหรับการเทรดระยะสั้นหรือในตลาดที่ผันผวนสูง อย่างไรก็ตาม การตั้งค่าให้ไวเกินไปอาจทำให้เกิดสัญญาณผิดพลาดบ่อย (False Signals)
  • การใช้ %D ที่นิ่งกว่า ด้วยการเพิ่มจำนวนวันในค่าเฉลี่ย (เช่น จากค่าเฉลี่ย 3 วันเป็น 5 วัน) จะทำให้การตัดสินใจมีความแม่นยำขึ้น เหมาะสำหรับการเทรดระยะยาว โดยไม่ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวเล็กๆ ในระยะสั้น ใช้ได้ดีเมื่อคุณต้องการลดความผันผวนในสัญญาณการเทรด

วิธีอ่านสัญญาณ Stochastic Oscillator แบบเข้าใจง่าย

Stochastic Oscillator เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้งานง่ายและทรงพลังในการบอกจังหวะการกลับตัวของราคา ช่วยให้นักเทรดสามารถคาดเดาการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ชัดเจน โดยเราจะดูไปพร้อมกันดังนี้

วิธีดูสัญญาณการกลับตัว (Reversal Signal)

หนึ่งในสัญญาณสำคัญที่นักเทรดใช้ในการวิเคราะห์ตลาดก็คือ สัญญาณการกลับตัว (Reversal Signal) เพราะมันช่วยบอกว่าราคากำลังจะเปลี่ยนทิศทาง ไม่ว่าจะจากขาลงเป็นขาขึ้น หรือจากขาขึ้นเป็นขาลง การอ่านสัญญาณเหล่านี้จะช่วยให้คุณรู้ว่าควรเข้าเทรดซื้อ หรือปิดสถานะขายในจังหวะที่เหมาะสมได้อย่างแม่นยำ โดยสังเกตจาก

สัญญาณซื้อ (Buy Signal)

เกิดขึ้นเมื่อ เส้น %K ตัดเส้น %D จากด้านล่างขึ้นด้านบน ซึ่งเป็นสัญญาณว่าราคากำลังฟื้นตัวจากแนวโน้มขาลง อาจเป็นช่วงที่ดีในการ เข้าเทรดซื้อ (Buy) เพราะมีโอกาสที่ราคาจะเริ่มปรับตัวขึ้นจากจุดต่ำสุด

สัญญาณขาย (Sell Signal)

เกิดขึ้นเมื่อ เส้น %K ตัดเส้น %D จากด้านบนลงด้านล่าง นี่เป็นสัญญาณเตือนว่าราคากำลังกลับตัวจากแนวโน้มขาขึ้น นักเทรดควรพิจารณา ปิดสถานะซื้อ หรือ เปิดสถานะขาย (Sell) เพื่อทำกำไรหรือป้องกันการขาดทุนจากการปรับตัวลงของราคา

ข้อควรระวังในการใช้ Stochastic

ข้อควรระวังของการใช้ Stochastic Oscillator 

แม้ว่า Stochastic Oscillator จะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์และช่วยให้การเทรดง่ายขึ้น แต่ก็ต้องระวังให้ดี เพราะถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้คุณพลาดโอกาสสำคัญไป หรือแย่กว่านั้นคือเจอสัญญาณผิดพลาด (False Signals) มาดูกันว่า มีข้อควรระวังอะไรบ้างที่คุณต้องรู้เมื่อใช้ Stochastic ในการเทรด

1. สัญญาณผิดพลาดในตลาดที่มีเทรนด์แรง

หากตลาดกำลังวิ่งไปในแนวโน้มที่แข็งแรง เช่น ขาขึ้นที่แรงมากๆ หรือขาลงที่ต่อเนื่อง Stochastic อาจบอกว่าตลาดอยู่ในสภาวะ Overbought หรือ Oversold บ่อยๆ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าราคาจะกลับตัวลงหรือขึ้นทันที มันอาจยังวิ่งต่อไปในทิศทางเดิมได้อีกพักใหญ่ ทำให้คุณตัดสินใจผิดพลาด ดังนั้น ถ้าเจอตลาดที่มีเทรนด์แรง ควรใช้ Stochastic ร่วมกับเครื่องมืออื่น เช่น Moving Average เพื่อยืนยันสัญญาณ

2. อย่าตัดสินใจเพียงเพราะ Overbought หรือ Oversold

หลายคนเห็น Stochastic บอกว่า Overbought ก็รีบขาย หรือเห็นว่า Oversold ก็รีบซื้อ แต่การตัดสินใจแบบนั้นอาจไม่เพียงพอ เพราะราคาอาจยังเคลื่อนไหวในทิศทางเดิมได้อีกสักพัก สัญญาณเหล่านี้เป็นเพียง “สัญญาณเตือน” ว่าตลาดอาจจะกลับตัว ดังนั้น อย่าตัดสินใจจากสัญญาณนี้เพียงอย่างเดียว ควรวิเคราะห์ภาพรวมตลาดหรือใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์อื่นๆ เพื่อความแม่นยำยิ่งขึ้น

3. ไม่เหมาะกับตลาดที่นิ่งเกินไป

Stochastic ทำงานได้ดีในตลาดที่มีความผันผวน แต่ถ้าตลาดอยู่ในสภาวะ Sideway หรือเคลื่อนไหวน้อยมากๆ สัญญาณจาก Stochastic อาจไม่น่าเชื่อถือพอ การใช้ในตลาดที่ราคานิ่งอาจทำให้สัญญาณไม่ชัดเจน และคุณอาจพลาดโอกาสในตลาดที่มีการเคลื่อนไหวจริง

4. ต้องใช้ร่วมกับการวิเคราะห์อื่นๆ

ถึงแม้ Stochastic จะเป็นอินดิเคเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ แต่มันก็ไม่ได้ตอบทุกคำถาม การเทรดอย่างปลอดภัยและแม่นยำต้องพิจารณาหลายปัจจัย เช่น แนวรับ-แนวต้าน (Support & Resistance), ปริมาณการซื้อขาย (Volume) และข่าวสารที่มีผลต่อตลาด การใช้ Stochastic ควบคู่กับการวิเคราะห์อื่นๆ จะทำให้คุณเห็นภาพรวมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

5. อย่าลืมดูภาพใหญ่ของตลาด

การอ่านสัญญาณจาก Stochastic เป็นเรื่องดี แต่การดูเฉพาะสัญญาณเทคนิคโดยไม่มองภาพรวมตลาดหรือปัจจัยอื่นๆ อาจทำให้คุณพลาดการมองเห็นแนวโน้มใหญ่ได้ อย่าลืมคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น ข่าวสาร, เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ หรือแนวโน้มใหญ่ของตลาด เพื่อช่วยในการตัดสินใจ

สรุป: ใช้ Stochastic Oscillator  แบบโปร เทรดอย่างมืออาชีพ

การใช้ Stochastic Oscillator อย่างมืออาชีพคือการรู้จักจับจังหวะการเข้า-ออกตลาดจากสัญญาณที่อินดิเคเตอร์นี้ให้มา ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณการกลับตัวจาก %K ตัด %D หรือการตรวจจับภาวะ Overbought และ Oversold สิ่งสำคัญคือการใช้ Stochastic ร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น Moving Averages หรือ RSI เพื่อช่วยยืนยันสัญญาณ และปรับค่าให้เหมาะกับสไตล์การเทรดของคุณ ไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาว

สำหรับมือใหม่ ควรเริ่มต้นจากการใช้ค่ามาตรฐานของ Stochastic และฝึกดูสัญญาณในตลาดจริง พร้อมทั้งจัดการความเสี่ยงด้วยการตั้ง Stop Loss และ Take Profit อย่างเหมาะสม จำไว้ว่าการเทรดอย่างโปรไม่ใช่แค่การใช้เครื่องมืออย่างแม่นยำ แต่คือการรู้จักวิเคราะห์และปรับตัวให้เข้ากับตลาดในทุกสถานการณ์ต่างหากที่จะทำให้คุณอยู่ได้นานในสนามการเทรด

ลงทะเบียนสัมมนา